ยาคูลท์ดีอย่างไร
อยากรู้เรื่องยาคูลท์ ถามสาวยาคูลท์ดูสิค่ะ
ในปี ค.ศ. 1930 ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเเบคทีเรียกรดนมในลำไส้คนเรา และได้ค้นพบแบคทีเรียกรดนมที่สามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในลำไส้คนเรา และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ทุกคนได้หันมาสนใจถึงประโยชน์ของแบคทีเรียกรดนมจาก เเนวความคิดของ ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ที่ว่า "ลำไส้ที่สมบูรณ์แข็งแรงเป็นหนทางสู่การมีอายุยืนยาว" ดังคำกล่าวของเขาที่ว่า "Kencho Choju - Healthy intestine leads to a long life"
ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ประสบความสำเร็จในการคัดเลือกจุลินทรีย์กรดนมที่มีความสามารถในการทนต่อ สภาวะกรดและด่างที่รุนแรงในร่างกายคนเราได้ และสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในลำไส้ นั่นคือ จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือแลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ชิโรต้า (Lactobacillus Casei Shirota Strain)
ในปี ค.ศ. 1935 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวได้ถูกผลิตขึ้น และจำหน่ายเป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น โดย ดร. มิโนรุ ชิโรต้า ตั้งชื่อ ผลิตภัณฑ์นี้ว่า "ยาคูลท์" ซึ่งเป็นภาษา Esperanto มีความหมายเช่นเดียวกับโยเกิร์ต แปลว่า มีอายุยืนยาว
ยาคูลท์ เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์นับพันล้านตัว ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้มาจากการหมักนมกับน้ำตาลกลูโคส โดยใช้จุลินทรีย์ชิโรต้า ยาคูลท์ไม่ใช่เป็นเพียงนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต แต่เป็น "โพรไบโอติก (Probiotics)" หรืออาหารเสริมที่มีแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย จุลินทรีย์ชิโรต้า หรือ แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ได้ถูกคัดเลือกมาโดยเฉพาะ เพราะมีความสามารถทนต่อสภาวะความเป็นกรดที่รุนแรงในกระเพาะอาหารของคนเรา และทนต่อความเป็นด่างที่รุนแรงของน้ำดี สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในลำไส้ และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพของเราได้
ส่วนประกอบสำคัญของยาคูลท์
- นมคืนรูปขาดมันเนย 50%
- น้ำตาล 18%
- จุลินทรีย์กรดนม (แลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า)
- ในยาคูลท์ 1 ขวด (80 cc.) มีจุลินทรีย์ชิโรต้าที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 8 พันล้านตัว
สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
ระบบย่อยอาหารของคนเราถือเป็นเครื่องจักรที่สำคัญของร่างกาย เพราะเป็นที่ๆ สารอาหารต่างๆ รวมถึงสารพิษและสารอันตรายอื่นๆ จะถูกสร้างขึ้นในร่างกาย จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้ระบบย่อยอาหารอยู่ในสภาวะที่ดี และเหมาะสมที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องดูแลเอาใจใส่อวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร
"ความตายรออยู่ในลำไส้, การย่อยที่ไม่ดีจะก่อให้เกิดสิ่งชั่วร้ายภายในร่างกายของเรา"
ดังคำกล่าวที่ว่า "You are what you eat"
กินอะไรก็ได้สิ่งนั้น หรือคุณเป็นในสิ่งคุณกินเข้าไป และคุณควรทราบว่าภาระหน้าที่ในการเปลี่ยนสิ่งที่เรากินให้เป็นสิ่งที่เรา เป็นนั้นก็คือระบบย่อยอาหารของเรานั่นเอง อาหารที่เราทานเข้าไปจะเดินทางผ่านระบบนี้จากปากไปจนถึงลำไส้ใหญ่และทุกๆ จุด ทุกๆ มิลลิเมตร จากความยาวประมาณ 9 เมตร ของลำไส้ จะประกอบไปด้วยโรงงานเล็กๆ มากมายที่จะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารที่เรากินเข้าไป และสุดท้ายสิ่งต่างๆ ก็จะถูกสร้างขึ้นจากอาหารเหล่านั้น
จุลินทรีย์ชิโรต้า ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ และปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้
ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้โดยการทำให้มีการเพิ่มจำนวนเชื้อ แบคทีเรียที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แลคโตบาซิลลัส และ บิฟิโดแบคทีเรีย และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียที่ให้โทษ
ยับยั้งการสร้างสารพิษของแบคทีเรียที่ให้โทษ ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้เป็นปกติ เช่น ลดอาการท้องผูก ท้องเสียช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรดนมที่เชื้อแลคโตบาซิลลัสสร้างขึ้น ช่วยให้ลำไส้มีการขยับตัวเคลื่อนที่ได้มากขึ้นช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง และการติดเชื้อ
โพรไบโอติก มาจากภาษากรีกว่า "Probiosis" ซึ่งเป็นคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หมายถึง การมีชีวิตอยู่ร่วมกัน (co-existence) ดังนั้น โพรไบโอติก จึงหมายถึง จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งเมื่อบริโภคเข้าไปแล้วจะเกิดผลดีต่อสุขภาพของผู้ที่รับประทานเข้าไป โดยช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย (lntestinal flora)
โพรไบโอติก ที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตอาหารส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเชื้อแบคทีเรียกรดนม (Lactic Acid Bacteria)ได้แก่ กลุ่มเชื้อ บิฟิโดเเบคทีเรีย และกลุ่มเชื้อ แลคโตบาซิลลัส เช่น เเลคโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า ในนมเปรี้ยวยาคูลท์
ทำไมยาคูลท์ถึงมีแต่ขวดเล็ก
เคย
สังเกตหรือเปล่าคะว่ายาคูลท์ที่เราดื่มเป็นประจำทำไมถึงมีแต่ขนาด 80 cc.
ไม่มีขนาดอื่นเหมือนกับนมเปรี้ยวยี่ห้ออื่นๆ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
ยา คูลท์มีแต่ขนาด 80 cc เป็นเพราะว่า
ยาคูลท์เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวที่ได้จากการหมัก
โดยเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นแบคทีเรีย ชื่อ แลคโตบาซิลลัส
ที่ทำให้เกิดรสชาติเปรี้ยว
เนื่องจากเกิดกรดขึ้นมาหลายชนิดระหว่างกระบวนการหมัก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกรดแลคติก ปัจจุบันใช้เชื้อชื่อ Lactobaciius Balgaricu
ร่วมกับ Stroptcoccus themophilus ในอุตสาหกรรมผลิตนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต โดย ปกติธรรมชาติแล้ว จุลินทรีย์ชนิดนี้มีอยู่แล้วตามทางเดินอาหารของคนเรา
และเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการย่อย
และหมักในทางเดินอาหาร ในส่วนที่ร่างกายคนเราไม่สามารถย่อยได้
จุลินทรีย์กลุ่มนี้จะคอยช่วยเหลือ
ถ้ามีจำนวนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อเราได้เช่นกัน
คืออาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เพราะจุลินทรีย์ผลิตกรดขึ้นมา
ซึ่งเป็นผลทำให้ยาคูลท์ผลิตขนาดเดียว คือ 80 cc.
ที่พอเหมาะกับปริมาณของเชื้อแลคโตบาซิลลัส โดยสังเกตข้างขวดที่เขียนไว้ว่า
มีเชื้อแลคโตบาซิลลัส 8.0 x 10 ( ยกกำลัง 9)ถ้าทำยาคูลท์ให้มี ขนาดใหญ่พอๆ กับยาคูลท์ 6
ขวดเล็กรวมกันคงไม่ดีต่อผู้บริโภคแน่
เพราะจะทำให้ได้รับปริมาณเชื้อแลคโตบาซิลลัสมากเกินพอ หรือถ้าจะทำขนาด 450
cc. ขึ้นมาจริงๆ แล้ว ลดปริมาณแลคโตบาซิลลัสลงอาจจะทำได้
แต่เชื่อแน่ว่ารสชาติของยาคูลท์อาจจะเปลี่ยนไปไม่อร่อยเหมือนเคยและ ถ้าหากเราทานยาคูลท์วันละ 6 ขวด เพื่อความอร่อยแต่อาจเกิดโทษได้
ทานวันละขวดก็เพียงพอแล้ว คนที่ไม่ทานเลยก็ไม่ว่าอะไร
เพราะว่าในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์ชนิดนี้อยู่เรียบร้อยแล้ว
อีกเรื่องที่ควรสังเกต เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ยาคูลท์ คือ
อย่าลืมดูวันหมดอายุข้างขวด
และเลือกซื้อจากตู้แช่ที่เก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
เพราะจะทำให้จุลินทรีย์พร้อมที่จะทำงานให้เราได้ทันที
วิธีดื่มยาคูลท์
ไม่มีวิธีที่ถูกหรือผิดในการดื่มยาคูลท์ แต่เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการดื่มยาคูลท์ ขวดเล็กๆ ของพวกเรา เราจึงมีคำแนะนำดังนี้
1. ดื่มยาคูลท์หนึ่งขวดต่อวัน แบคทีเรียในขวดของพวกเรานั้นเป็นแบบ "ชั่วคราว" ซึ่งหมายความว่าแบคทีเรียนี้จะอยู่ในลำไส้ของคุณเป็นเวลาจำกัด เมื่อทำหน้าที่เสร็จก็จะตายไป การดื่ม 1 ขวดต่อวันนั้นจะช่วยให้ลำไส้ของคุณมีสุขภาพดีในระยะยาว
2. ดื่มยาคูลท์ควบคู่ไปกับอาหารเช้า ผู้คนจำนวนมากพบว่าการดื่มยาคูลท์ในเวลาเดิมทุกๆ วัน จะทำให้เกิดความคุ้นเคย และรู้สึกว่าเป็นหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งคุณสามารถดื่มยาคูลท์ควบคู่ไปกับอาหารมื้อใดก็ได้ เพราะเป็นผลดีต่อสุขภาพของคุณเช่นเดียวกัน
3. ดื่มยาคูลท์สองขวดได้ ไม่เป็นอันตราย ยาคูลท์ คืออาหาร ฉะนั้น การดื่มมากกว่าหนึ่งขวดต่อวันนั้นจึงไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด เพียงแต่การดื่มหนึ่งขวดต่อวันจะให้แบคทีเรียในปริมาณที่เพียงพอสำหรับผู้ ที่มีสุขภาพดีหนึ่งคน ในบางครั้งบางคราวคุณอาจต้องการดื่มสองขวดเพื่อให้ลำไส้ได้รับการเสริม แรงอย่างจริงจังก็สามารถทำได้เช่นกัน
4. ผสม Prebiotics เข้ากับจุลินทรีย์ในลำไส้ของคุณ Prebiotics คือใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยลำไส้ โดยทั่วไปจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีที่อยู่ในลำไส้ของ คุณ คุณจะพบได้ในอาหาร เช่น กล้วย, หัวหอม, ต้นหอม, หน่อไม้, อาร์ทิโชค รวมทั้ง ในถั่ว และเมล็ดพืช เช่น ชิคพี (Chickpea) และเลนทิลส์ (Lentils) ในปริมาณที่น้อยกว่า
5. ทำอย่างอื่นส่งเสริมสุขภาพด้วย แน่นอนว่าการมีสุขภาพที่ดีไม่ใช่แค่การดื่มยาคูลท์เท่านั้น การที่จะมีสุขภาพดีนั้น คุณต้องหมั่นทำในเรื่องที่ส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำมากๆ เป็นต้น
ปัจจุบัน
มีเครื่องดื่มน้ำสีส้มขวดขาวขุ่นออกมาวางแข่งกับยาคูลท์หลายยี่ห้อ
ดิฉันก็เคยซื้อกินเหมือนกัน ด้วยเหตุผลที่ว่ามันถูกดี
กินทีอิ่มไปหลายชั่วโมง หลอดก็ใหญ่กว่าดูดได้สะใจ หรือจะยกซดก็ไม่เลว
แต่จะว่าไปแม้จะพยายามเลียนแบบอย่างไร
(ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเจ้าอื่นเขาจงใจเลียนแบบหรือแค่บังเอิญ)
ยาคูลท์ก็ยังไม่มีผู้ใดเทียบเทียมได้
มี
ข้อน่าสังเกตคือ ยาคูลท์ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ขวด
เนื่องจากแท้จริงแล้วยาคูลท์นั้นมิใช่ขนม
แต่เป็นนมที่ผ่านการหมักบ่มกับน้ำตาลและน้ำ
และผสมกับเชื้อแบคทีเรียฝ่ายธรรมะ ที่ชื่อว่า Lactobacillus casei shirota
strain ที่เราคุ้นๆหูกันอยู่นั่นเอง ดังนั้นถ้ามี เลคโตบาสิลัสมากไป
มันอาจจะแย่งที่อยู่ ทีนี้ละก็บ้านที่มันอาศัย
หรือก็คือท้องของเราเองก็จะถูกแลคโตบาสิลัสพันธุ์นักการเมืองปู้ยี่ปู้ยำ
ผลสุดท้ายเป็นอย่างไรคงไม่ต้องบอก
ยาคูลท์ทำงานอย่างไร
หาก
มองลงไปในพุงกะทิของเราเองจะเห็นว่าลำไส้เล็กนั้น
จะบีบขย้ำกดขี่ข่มเหงและแปลงอาหารที่เรากินเข้าไปให้เป็นสารที่เป็นประโยชน์
เพื่อรอการดูดซึมแต่ในขณะเดียวกันก็จะมีสารที่เป็นโทษหลุดรอดออกมาด้วย
เมื่อร่างกายก่อเกิดความสมดุลของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์
ระบบย่อยอาหารของเราก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เฉลี่ยแล้ว แลคโตบาซิลัสมีมูลค่าตัวละ 0.00000000075 บาท
แต่
ถ้าสมดุลเสียไป สารพิษและสารอันตราย อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่าย
ดังนั้นคุณเจ้าแลคโตบาสิลัสก็เลยคิดใหม่ทำใหม่กลายเป็นพระเอกม้าขาว(ออกสี
นวลๆส้มๆหน่อย) เข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการปรับสมดุลของลำไส้
ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวของช่องท้องให้ สม่ำเสมอ
ลดสารที่จะก่อให้เกิดความเสียหายที่ถูกผลิตโดยแบคทีเรียฝ่ายค้าน(ฝ่ายย่อย
สลาย)